• ปรับขนาด
    ตัวอักษร
เลขที่บัตรประชาชน :
รหัสผ่าน :
บริการประชาชน
น้องนกเงือก
06.05
น้องนกเงือก
สวัสดีจร้าาา...วันนี้มีอะไรให้น้องช่วยครับ ถามน้องนกเงือกมาได้เลย จะรีบไปหาคำตอบให้ครับ
06.05

Get Adobe Flash player

 
ภาพกิจกรรม
แถลง 7 วาระ รอบ 6 เดือน

ข้อมูลแถลงข่าว “6 เดือนผู้ว่าฯ ขับเคลื่อน 7 วาระนราน่าอยู่...อย่างยั่งยืน”

โดย ผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส (นายเอกรัฐ  หลีเส็น)

วันอาทิตย์ที่ 3 มีนาคม 2562

ณ โรงแรมตันหยง อ.เมือง จ.นราธิวาส

          ตามที่ จังหวัดนราธิวาสได้ดำเนินการพัฒนาจังหวัดภายใต้การปฏิบัติงาน ตามนโยบาย “7 วาระ            นราน่าอยู่ อย่างยั่งยืน” โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อร่วมกันพัฒนาจังหวัด แก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนในพื้นที่ และขับเคลื่อนการพัฒนาจังหวัดนราธิวาสให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นรูปธรรม โดยการทำงานของคณะทำงานขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบาย “7 วาระ นราน่าอยู่ อย่างยั่งยืน”  ประกอบด้วยส่วนราชการต่างๆภายในจังหวัดนราธิวาส องค์กรภาคประชาสังคม ภาคเอกชน และอำเภอทุกอำเภอ ซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานส่วนที่เกี่ยวข้องในแต่ละวาระ ดังนี้

         วาระที่ ๑ นรา...ตามรอยพ่อ (ชีวิตพอเพียง เพื่อสุขเพียงพอ) : ที่ผ่านมาจังหวัดนราธิวาส ได้ให้ความสำคัญกับโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ ๙ และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ อย่างต่อเนื่อง โดยคณะทำงานในวาระที่ ๑ นี้ มีรองผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส(ด้านเศรษฐกิจ) เป็นประธานคณะทำงาน ประกอบด้วยคณะทำงานขับเคลื่อนฯ ได้แก่, เกษตรจังหวัดนราธิวาส, ประมงจังหวัดนราธิวาส, ปศุสัตว์จังหวัดนราธิวาส, สหกรณ์จังหวัดนราธิวาส, ปฏิรูปที่ดินจังหวัดนราธิวาส, หัวหน้าสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์จังหวัดนราธิวาส, ผู้อำนวยการโครงการชลประทานนราธิวาส, ผู้อำนวยการโครงการก่อสร้างสำนักชลประทานนราธิวาส, ผู้อำนวยการโครงการก่อสร้างสำนักชลประทานที่ 17, ศึกษาธิการจังหวัดนราธิวาส, นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนราธิวาส, พัฒนาการจังหวัดนราธิวาส, อุตสาหกรรมจังหวัดนราธิวาส, และนายอำเภอทุกอำเภอ โดยมี เกษตรและสหกรณ์จังหวัดนราธิวาส และหัวหน้าศูนย์ประสานงานโครงการพิเศษจังหวัดนราธิวาส เป็นเลขานุการ  ซึ่งมุ่งเน้นการดำเนินงานใน ๒ เรื่อง คือ

          (๑) การพัฒนาและขยายผลโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เพื่อยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตของประชาชนในจังหวัดนราธิวาส อาทิ งานศิลปาชีพ, การขยายผลโรงเรียนเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน, การดำเนินกิจกรรมทันตสาธารณสุข ภาวะทุพโภชนาการ ปัญหาหนอนพยาธิในโรงเรียนพระราชดำริ, สนับสนุนการปรับปรุงและพัฒนาแหล่งน้ำตามแนวพระราชดำริ, การสนองพระราชกระแสรับสั่งและการแก้ไขปัญหาให้แก่ราษฎรที่ทูลเกล้าถวายฎีกา การจัดพิธีเฉลิมพระเกียรติ และกิจกรรมเทิดพระเกียรติ ผ่านหน่วยงานรับผิดชอบหลักโดย ศูนย์ประสานงานโครงการพิเศษจังหวัดนราธิวาส และหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และความร่วมมือของศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯนราธิวาส และอำเภอทุกอำเภอ

          (๒) ส่งเสริมให้ประชาชนน้อมนำศาสตร์พระราชา มาประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิต : “คนไทยมีปัญหาพระราชาก็ทรงคิดหาทางแก้ไขโดยศาสตร์พระราชาจังหวัดนราธิวาสได้ส่งเสริมให้ประชาชนรับทราบแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จ พระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ในการนำไปปฏิบัติโดยเริ่มต้นที่ตัวเรา และคนรอบข้าง แล้วขยายออกวงกลางไปสู่สังคมและประเทศชาติ และในเรื่องหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่ประสบความสำเร็จอีกมากมาย เช่น

               ๑) กิจกรรมธนาคารอาหารจากกองทุนอาหารกลางวันแบบยั่งยืน ในการให้เด็กนักเรียนทุกคนนำไปลงทุนเพื่อประกอบอาชีพทำการเกษตรและปศุสัตว์ขนาดเล็ก

               ๒) โรงเรียนพระดาบสจัดให้มีการสอนวิชาชีพ หลักสูตร ๑ ปี มุ่งให้สามารถนำไปประกอบอาชีพได้จริง เสริมด้วยทักษะชีวิต ให้สามารถดำรงตน ได้อย่างเหมาะสม              

               ๓) กังหันชัยพัฒนา เป็นการเพิ่มปริมาณออกซิเจนในน้ำ ลดกลิ่น น้ำไม่เน่าเสีย เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำได้ และ

               ๔) บริษัท ประชารัฐ รักสามัคคี จำกัด ดำเนินการตามรูปแบบ “วิสาหกิจเพื่อสังคม” บนกลไก “ประชารัฐ” ที่ไม่มุ่งเน้นผลกำไรจากการประกอบการ เป็นต้นโดยมีหน่วยงานรับผิดชอบหลัก คือ สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดนราธิวาส ทั้งนี้ ผมมีความคาดหวังว่าจะสามารถยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตของประชาชนในจังหวัดนราธิวาสได้ในระดับหนึ่ง และประชาชนจะสามารถน้อมนำศาสตร์พระราชามาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดำรงชีวิตได้

          วาระที่ ๒ นรา...สะอาด (สิ่งแวดล้อมดี มีวินัย ใจสะอาด) : จังหวัดนราธิวาสมุ่งเน้นการพัฒนาให้เป็นเมืองสิ่งแวดล้อมที่ดี เช่น การสร้างวินัย“รักษ์สะอาด”, การสร้างการมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบในการจัดการขยะทุกระดับ, การจัดการขยะสารพิษ และของเสียอันตรายอย่างมีประสิทธิภาพ และส่งเสริมการรวมกลุ่มขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและการร่วมลงทุนของภาคเอกชนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการขยะสนับสนุนการจัดการขยะที่ครบวงจร เป็นต้น นอกจากนั้น ยังจำเป็นต้องจัดสร้างพื้นที่ต้นแบบในการจัดการขยะ และส่งเสริมการพึ่งพาตนเอง ด้วยการใช้พลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน โดยคณะทำงานในวาระที่ ๒ นี้  มีรองผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส(ด้านเศรษฐกิจ) เป็นประธานคณะทำงาน ประกอบด้วยคณะทำงานขับเคลื่อนฯ ได้แก่ เกษตรและสหกรณ์จังหวัดนราธิวาส, เกษตรจังหวัดนราธิวาส, ประมงจังหวัดนราธิวาส, ปศุสัตว์จังหวัดนราธิวาส, สหกรณ์จังหวัดนราธิวาส, ปฏิรูปที่ดินจังหวัดนราธิวาส, หัวหน้าสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์จังหวัดนราธิวาส, ผู้อำนวยการโครงการชลประทานนราธิวาส, ผู้อำนวยการโครงการก่อสร้างสำนักชลประทานนราธิวาส, ผู้อำนวยการโครงการก่อสร้างสำนักชลประทานที่ 17, ศึกษาธิการจังหวัดนราธิวาส, นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนราธิวาส, พัฒนาการจังหวัดนราธิวาส, อุตสาหกรรมจังหวัดนราธิวาส, นายอำเภอทุกอำเภอ และ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่ง โดยมีผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดนราธิวาส, ปลัดจังหวัดนราธิวาส และท้องถิ่นจังหวัดนราธิวาส เป็นเลขานุการ ซึ่งได้เน้นหนักในเรื่องที่ต้องดำเนินการเร่งด่วน ๓ เรื่อง คือ

          (๑) การจัดการขยะมูลฝอยที่มีประสิทธิภาพ : จังหวัดนราธิวาสมีขยะ จำนวน ๕ ประเภท ได้แก่  ขยะมูลฝอยตกค้าง ขยะมูลฝอยชุมชนใหม่ที่เกิดขึ้น ของเสียอันตราย มูลฝอยติดเชื้อ และกากอุตสาหกรรม ที่เป็นอันตราย แต่ปัญหาที่จำเป็นต้องเร่งดำเนินการ คือ การจัดการขยะมูลฝอย ซึ่งได้ดำเนินการจัดการขยะ มูลฝอยอย่างถูกต้องและดำเนินการอย่างเป็นขั้นตอน โดยจังหวัดได้ดำเนินการตั้งแต่การลดปริมาณการเกิดขยะ การเก็บรวบรวม การขนส่งขยะ ตลอดจนการกำจัดขยะอย่างถูกหลักสุขาภิบาล (การฝังกลบ,  การเผา, การทำปุ๋ยหมัก, การนำไปเลี้ยงสัตว์, และการคัดแยกขยะ) ผ่านการร่วมมือจากส่วนราชการ/หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ภาคเอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการร่วมมือกันจัดการ ขยะมูลฝอยที่มีประสิทธิภาพและครบวงจร โดยสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดนราธิวาส ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดนราธิวาส และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่ง

          (๒) จังหวัดสะอาด : จังหวัดดำเนินการรณรงค์และบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “จังหวัดสะอาด” โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเสริมสร้างสังคมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อาทิ การลด การคัดแยก และการนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ (๓R), การนำร่องรูปแบบการจัดการขยะมูลฝอยที่ถูกต้อง, การลดใช้ถุงพลาสติกและโฟม ส่งเสริมการใช้สินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นต้น โดยจะจัดให้มีการประกวด “อำเภอสะอาด” และ “องค์กรสะอาด” ขึ้น เพื่อติดตามและประเมินผลการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน และเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจ พร้อมเชิดชูเกียรติให้แก่อำเภอและองค์กรที่มีการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนที่เป็นเลิศ โดยมี สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดนราธิวาส เป็นหน่วยงานขับเคลื่อนกิจกรรม

          (๓) ชุมชนต้นแบบ “เมืองสวย น้ำใส ไร้มลพิษ” : จังหวัดมอบหมายให้ส่วนราชการ/หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่ง ดำเนินการจัดทำข้อมูลการสำรวจและประเมินสถานภาพของสถานที่กำจัดขยะมูลฝอย รวมทั้งการประเมินปริมาณและการจัดการขยะมูลฝอยตกค้างผลักดันให้เกิดพื้นที่ต้นแบบที่มีการบริหารจัดการขยะมูลฝอยที่เหมาะสม ตั้งแต่การลดและคัดแยกขยะมูลฝอยต้นทาง การเก็บขน ขยะมูลฝอยแบบแยกประเภท และการกำจัดขยะมูลฝอยแบบถูกต้อง ตลอดจนผลักดันให้เกิดศูนย์รวบรวม ของเสียอันตรายจากชุมชนประจำจังหวัดขึ้น โดยจัดให้มีการประกวด “คลองสวย น้ำใส ไร้มลพิษ” เพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนเชิงพื้นที่ที่มีประสิทธิภาพ ยกระดับแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ และเป็นกำลังใจในการปฏิบัติงาน โดยสำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดนราธิวาสร่วมกับอำเภอทุกอำเภอ และ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่ง  ทั้งนี้ ผมมีความคาดหวังว่าจะสามารถจัดการขยะมูลฝอย ได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยมีปริมาณขยะมูลฝอยตกค้างได้รับการจัดการอย่างถูกต้องที่สูงขึ้น, ปริมาณขยะมูลฝอยชุมชนได้รับการจัดการอย่างถูกต้องสูงขึ้น รวมถึงปริมาณขยะมูลฝอยชุมชนที่นำกลับมาใช้ประโยชน์สูงขึ้นตามเป้าหมายของรัฐบาล ทำให้ชุมชนมีความ น่าอยู่มากยิ่งขึ้น

          วาระที่ ๓ นรา...สะดวก (ดูแล ใส่ใจ พร้อมให้บริการ) : จังหวัดนราธิวาสได้มุ่งเน้นพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การคมนาคม และระบบโลจิสติกส์ให้มีคุณภาพและได้มาตรฐาน ยกระดับมาตรฐานการอำนวยความสะดวกทางการค้าชายแดน สู่ระดับสากล ให้ความสำคัญกับความทันสมัย การสร้างจุดบริการ WIFI สาธารณะทั่วทุกพื้นที่ พัฒนาระบบฐานข้อมูลสำคัญเพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าถึง พัฒนาศักยภาพด้านการตลาดและการค้าผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ เชื่อมโยงการค้ากับประเทศ อาเซียน และนานาชาติบนโลกออนไลน์ พัฒนาห้องเรียนดิจิทัลในโรงเรียนต้นแบบ พัฒนาสถานบริการสาธารณสุขให้มีสมรรถนะสูง มีระบบการบริการที่ได้มาตรฐานและ มีประสิทธิภาพ ส่งเสริมการใช้อินเตอร์เน็ตในชุมชนเพื่อชุมชน เพิ่มโอกาสให้กับประชาชน ให้สามารถเข้าถึง บริการที่มีคุณภาพของรัฐ กระจายการบริการด้านการศึกษาที่มีคุณภาพให้มีความเท่าเทียมกันมากขึ้น การขยายการจัดการศึกษาทางไกลโดยใช้โครงข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อช่วยเหลือโรงเรียนที่อยู่ห่างไกลและขาดแคลนครูผู้สอน และสร้างระบบการสื่อสารการท่องเที่ยว และการประชาสัมพันธ์ และโฆษณาเชิงรุกผ่านระบบดิจิทัล โดยคณะทำงานในวาระที่ ๓ นี้ มีรองผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส(ด้านเศรษฐกิจ) เป็นประธานคณะทำงาน ประกอบด้วยคณะทำงานขับเคลื่อนฯ ได้แก่ คลังจังหวัดนราธิวาส, พาณิชย์จังหวัดนราธิวาส, เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดนราธิวาส, อุตสาหกรรมจังหวัดนราธิวาส,ผู้จัดการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดนราธิวาส, ผู้จัดการการประปาส่วนภูมิภาคสาขาจังหวัดนราธิวาส,ผู้อำนวยการโรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์, โทรศัพท์จังหวัดนราธิวาส, หัวหน้าไปรษณีย์จังหวัดนราธิวาส นายอำเภอทุกอำเภอ และ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่ง โดยมี นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนราธิวาส และท้องถิ่นจังหวัดนราธิวาส เป็นเลขานุการ ซึ่งมุ่งเน้นในการดำเนินงาน ๒ เรื่อง คือ

          (๑) การบริการประชาชน : จังหวัดเน้นย้ำให้ส่วนราชการ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชน และ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่มีงานบริการประชาชน จะต้องให้บริการประชาชนตามมาตรฐานการให้บริการ กล่าวคือ การให้บริการด้วยความสนใจ (การต้อนรับอย่างอบอุ่น การให้เกียรติประชาชน ประชาชน มีความสำคัญ และฟังประชาชนพูดและสบนัยน์ตาด้วย) ใส่ใจ (การเอาใจใส่ในการให้บริการอย่างเท่าเทียม ไม่แสดงออกอย่างเหนื่อยหน่ายเย็นชา และติดตามเรื่องของประชาชนจนสำเร็จ) ตั้งใจ (การมั่นใจในความถูกต้องสมบูรณ์ การจัดบริการให้ตรงเวลา และบริการให้ประชาชนรู้สึกคุ้มค่า) เต็มใจ (การสร้างความเชื่อมั่นแก่ประชาชนว่าจะเป็นบริการที่ ได้รับประโยชน์สูงสุด และต้องให้ความร่วมมือในการตอบสนองความต้องการ) จริงใจ (การแสดงออกถึงบริการที่น่าเชื่อถือ เชื่อใจได้ มีความ รับผิดชอบในงานบริการ และให้บริการอย่างซื่อตรงและเป็นธรรม) เข้าใจ (มีความรู้ในการให้บริการอย่างแท้จริง มุ่งถึงบริการที่มี คุณภาพสูง และต้องให้บริการอย่างถูกต้อง) รู้ใจ (ตอบสนองความต้องการของประชาชนได้ถูกต้องและ ดำเนินการอย่างรวดเร็ว) และมีน้ำใจ (การให้ความช่วยเหลืออย่างเอื้ออาทร ให้ประชาชนได้รับ คำแนะนำอย่างถูกต้องเพื่อประกันไม่ให้เกิดความยุ่งยากเสียหายและให้ประชาชนได้รับประโยชน์ทั้งด้าน คุณภาพและปริมาณอย่างครบถ้วน)โดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนราธิวาส เป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนฯ

          (๒) การพัฒนาบริการสาธารณะ : จังหวัดเร่งรัดพัฒนา “บริการสาธารณะ” (Public Service) ซึ่งเป็นกิจกรรมที่อยู่ในความอำนวยการของรัฐ และถือเป็นภาระหน้าที่ของรัฐที่ต้องจัดทำเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนโดยรวม (Public interest) โดยจัดระเบียบสังคม รักษาความมั่นคง ความสงบเรียบร้อย ความปลอดภัยให้ประชาชนและสังคม (การรักษาความมั่นคงปลอดภัย การอำนวยความยุติธรรม การศึกษา การสาธารณะสุข การสงเคราะห์ ฯลฯ ) และจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกในการดำรงชีวิตเพื่อให้ประชาชนมีมาตรฐานคุณภาพชีวิตที่ดี (ไฟฟ้า นํ้าประปา ถนน/สะพาน การขนส่งคมนาคม ฯลฯ) รวมถึงการจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกให้ประชาชนในภาคอุตสาหกรรม พาณิชยกรรมและบริการ อาทิ แหล่งเงินลงทุน อุปกรณ์เทคโนโลยีชั้นสูง กิจการไฟฟ้า การสื่อสาร การคมนาคม เป็นต้น โดยมี สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดนราธิวาส เป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนฯทั้งนี้ ผมมีความคาดหวังว่าจะสามารถเพิ่มการเข้าถึงบริการรัฐของประชาชนให้มีมากยิ่งขึ้น และพัฒนามาตรฐานการให้บริการ สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนโดยรวมได้อย่างเป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพ

          วาระที่ ๔ นรา...สบาย (เศรษฐกิจสมดุล อบอุ่นทุกครัวเรือน) : จังหวัดนราธิวาสมุ่งเน้นสร้างอาชีพเสริมแก่เศรษฐกิจฐานราก ส่งเสริมการรวมกลุ่มเพื่อเพิ่มศักยภาพในด้านการผลิต การระดมทุน การบริหารจัดการและการตลาดให้มีความเข้มแข็งและสามารถพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน สร้างงานสร้างอาชีพแก่ผู้ด้อยโอกาส คนยากจน คนพิการ ผู้สูงอายุ และผู้ที่เสียเปรียบทางสังคมเพื่อเพิ่มรายได้ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและพึ่งตนเองได้ พัฒนาผู้ประกอบการที่มีความเข้มแข็งสู่เศรษฐกิจการแข่งขัน ๔.๐ ส่งเสริมการนำวิถีชุมชนตามอัตลักษณ์ที่ดี และโดดเด่นมาผสมผสานกับ การท่องเที่ยว การบริการ การสันทนาการ และการกีฬา เพื่อเพิ่มมูลค่าด้านเศรษฐกิจ และยกระดับคุณภาพของ การท่องเที่ยวแบบครบวงจร ให้ได้มาตรฐานนานาชาติและเชื่อมโยงกับระบบดิจิทัล โดยคณะทำงานในวาระที่ 4 นี้ มีรองผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส(ด้านเศรษฐกิจ) เป็นประธานคณะทำงาน ประกอบด้วยคณะทำงานขับเคลื่อนฯ ได้แก่ พาณิชย์จังหวัดนราธิวาส, อุตสาหกรรมจังหวัดนราธิวาส, ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดนราธิวาส, ท้องถิ่นจังหวัดนราธิวาส, นายกสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวจังหวัดนราธิวาส, ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดนราธิวาส, ประธานกรรมการวิสาหกิจชุมชนจังหวัดนราธิวาส, ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ประชารัฐรักสามัคคีนราธิวาส และนายอำเภอทุกอำเภอ โดยมี พัฒนาการจังหวัดนราธิวาส, เกษตรจังหวัดนราธิวาส และหัวหน้าสำนักงานจังหวัดนราธิวาส เป็นเลขานุการ  ซึ่งการทำงานที่ผ่านมาได้เน้นหนักใน ๒ เรื่อง คือ

          (๑) ส่งเสริมเศรษฐกิจมหภาค : จังหวัดเร่งดำเนินการพัฒนาศักยภาพตลาดกลางการเกษตรเพื่อการส่งออกจังหวัดภาคใต้ชายแดน เพื่อให้เป็นศูนย์รวมและกระจายสินค้าการเกษตร และเพื่อให้เกิดความสะดวกในการขนส่งสินค้ารวมทั้งจัดให้มีสถานที่กลางในการจำหน่ายผลผลิตด้านการเกษตร ในระดับพื้นที่ และสนับสนุนให้เกิดการใช้ประโยชน์จากอาคารศูนย์จำหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชน (OTOP) และอาคารศูนย์บริการนักท่องเที่ยวบริเวณด่านพรมแดนสุไหงโก-ลก ซึ่งปัจจุบันดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จ สำหรับเป็นพื้นที่ร้านค้าปลอดอากร รวมทั้งการพัฒนาพื้นที่เป้าหมาย “เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษนราธิวาส” ในพื้นที่ ๕ ตำบล ๕ อำเภอ ได้แก่ ๑) ตำบลโคกเคียน อำเภอเมืองนราธิวาส ๒) ตำบลละหาร อำเภอยี่งอ ๓) ตำบลสุไหงโก-ลก อำเภอสุไหงโก-ลก ๔) ตำบลเจ๊ะเห อำเภอตากใบ และ ๕) ตำบลโล๊ะจูด อำเภอแว้ง และพัฒนาเมืองสุไหงโก-ลก เป็นเมืองต้นแบบการค้าชายแดนระหว่างประเทศ ตามโครงการเมืองต้นแบบ “สามเหลี่ยม มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน”

          (๒) ส่งเสริมเศรษฐกิจฐานราก : โดยจังหวัดมุ่งเน้นการพัฒนาระบบเศรษฐกิจของชุมชนท้องถิ่นที่สามารถพึ่งตนเอง มีการช่วยเหลือเอื้อเฟื้อซึ่งกันและกัน มีคุณธรรม และเป็นระบบเศรษฐกิจที่เอื้อให้เกิดการพัฒนาด้านต่างๆ ในพื้นที่ ทั้ง สังคม ผู้คน ชุมชน วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ อย่างเข้มแข็งและยั่งยืน นอกจากนี้เศรษฐกิจฐานรากจะต้องมีแนวทางการพัฒนาและการจัดการโดยชุมชนท้องถิ่นให้ครบวงจรมากที่สุด มีการสร้างทุนและกองทุนที่เข้มแข็ง มีการผลิตพื้นฐาน การแปรรูป การบริการ การตลาด การผลิตอาหาร และความจำเป็นพื้นฐานต่างๆ สำหรับคนในพื้นที่อย่างพอเพียง และพัฒนาเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคม หรือเป็นธุรกิจของชุมชน โดยจังหวัดเร่งดำเนินการในการสร้าง/เพิ่มรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่ อาทิ การส่งเสริมอาชีพ การส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน การส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ OTOP ส่งเสริม OTOP นวัตวิถีการส่งเสริมอาชีพให้กลุ่มผู้ด้อยโอกาส และส่งเสริมให้ประชาชนใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการดำรงชีวิต โดยมีสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดนราธิวาส ร่วมกับ สำนักงานเกษตรจังหวัดนราธิวาส ในการขับเคลื่อนฯทั้งนี้ ผมมีความคาดหวังว่าจะสามารถพัฒนาให้เกิดผลลัพธ์ ในการพัฒนาเศรษฐกิจของจังหวัดนราธิวาส ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการท่องเที่ยว การลงทุน ที่ส่งผลให้คุณภาพชีวิตของประชาชนในจังหวัดดียิ่งขึ้น อีกทั้งสามารถเพิ่มรายได้ และโอกาสการลงทุนของประชาชนในพื้นที

          วาระที่ ๕ นรา...ปลอดภัย (ทุกแห่งหน คนปลอดภัย) : เสริมสร้างความเข้มแข็งของหมู่บ้าน และชุมชนเมืองในการจัดการตนเองให้มีความปลอดภัย และมีความมั่นคงในพื้นที่ การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ส่งเสริมการเกษตรปลอดภัย อาหารปลอดภัย การยกระดับมาตรฐานสินค้าต่างๆ ให้ได้มาตรฐานการพัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายในชุมชนให้มีส่วนร่วมในการจัดการสุขภาพระดับชุมชนที่มีประสิทธิภาพ เสริมสร้างความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรทางธรรมชาติ และความหลากหลายของระบบนิเวศน์ ป่าเขา ชายฝั่งและทะเล การจัดการปัญหาทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งการกัดเซาะชายฝั่ง/ตลิ่ง ภัยพิบัติ และอุบัติภัย การสร้างความเข้มแข็งของสถาบันทางสังคม โดยคณะทำงานในวาระที่ 5 นี้ มีรองผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส(ด้านความมั่นคง) เป็นประธานคณะทำงาน ประกอบด้วยคณะทำงานขับเคลื่อนฯ ได้แก่ ผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 3 กองพลนาวิกโยธิน, ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจนราธิวาส, รอง ผอ.รมน. จังหวัดนราธิวาส ฝ่ายทหาร, ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดนราธิวาส, นายอำเภอทุกอำเภอ, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่ง และประธานชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้านจังหวัดนราธิวาส โดยมี ปลัดจังหวัดนราธิวาส เป็นเลขานุการ ซึ่งการดำเนินการที่ผ่านมาจังหวัดได้มุ่งเน้นการดำเนินการใน ๒ เรื่อง คือ

          (๑) การแก้ไขปัญหายาเสพติด : จังหวัดนราธิวาสได้ดำเนินการอย่างเร่งด่วนเพื่อดำเนินการตามยุทธศาสตร์ในการแก้ไขปัญหาผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดในระดับพื้นที่ ซึ่งที่ผ่านมาได้ดำเนินการกวาดล้าง ยาเสพติดเป็นระยะๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งก็ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดหลายกิจกรรมด้วยกัน จังหวัดนราธิวาสมองปัญหาในเรื่องยาเสพติดยังคงเป็นปัญหาสำคัญ โดยมุ่งดำเนินการแก้ไขปัญหายาเสพติดทั้งด้านการป้องกัน การปราบปราม และการบำบัดฟื้นฟู

          (๒) การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในการรักษาความสงบเรียบร้อย : จากสถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่ ตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๔๗ ถึงปัจจุบัน ได้สร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินทั้งทางราชการและประชาชนเป็นจำนวนมาก ซึ่งที่ผ่านมาจังหวัดนราธิวาส ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง โดยการเพิ่มประสิทธิภาพ การปฏิบัติงานและทบทวนทางยุทธวิธีให้แก่กองกำลังประจำถิ่นและกำลังภาคประชาชนในพื้นที่ การเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของผู้นำหมู่บ้านและคณะกรรมการหมู่บ้าน (กม.) (หมู่บ้านปกติ และหมู่บ้าน อพป.) การเพิ่มประสิทธิ การปฏิบัติงานของศูนย์ปฏิบัติการอำเภอ และการจัดหน่วยบริการจังหวัดเคลื่อนที่/อำเภอเคลื่อนที่ การส่งเสริมการกีฬานำไปสู่การพัฒนาพื้นที่ทุกมิติการขับเคลื่อนการพัฒนาความร่วมมือการแก้ไขปัญหาชายแดน รวมถึงการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างจังหวัดนราธิวาสกับประเทศกลุ่มอาเซียน โดยภาพรวมของสถานการณ์ในพื้นที่จังหวัดนราธิวาสมีแนวโน้มที่ดีขึ้นโดยพิจารณาจากสถิติเหตุการณ์ลดลงเป็นลำดับ ประชาชนให้ความร่วมมือกับภาครัฐในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ และเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลหมู่บ้าน/ชุมชน ตำบล ของตนเองมากขึ้น ผ่านกิจกรรม/โครงการของหน่วยงานรัฐ ที่เข้าถึงประชาชน และมุ่งเน้นการสร้างความสามัคคี โดยความร่วมมือของหน่วยงานความมั่นคง

          ทั้งนี้ ผมมีความคาดหวังว่าจะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดแบบบูรณาการ ทั้งในด้านการปราบปรามผู้ค้ายาเสพติด การป้องกันและปราบปรามการแพร่กระจายของตัวยา การบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดในทุกระบบ และการป้องกันกลุ่มผู้มีโอกาสเข้าไปใช้ยาเสพติด โดยมีผลงานในระดับดีขึ้นกว่าปีงบประมาณที่ผ่านมา, จำนวนสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นลดลง รวมถึงในเรื่องของการจัดการปัญหาทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

          วาระที่ ๖ นรา...แบ่งปัน (คนนรา...ทุกวัย ร่วมใจแบ่งปัน) : จังหวัดนราธิวาสได้เน้นการสร้างโอกาสแก่ผู้ด้อยโอกาส ผู้สูงอายุ คนยากจน เยียวยาและฟื้นฟูผู้ได้รับผลกระทบจากความไม่สงบให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและพึ่งตนเองได้ ผ่านการให้ความช่วยเหลือทางสังคม การใช้กลไกประชารัฐในการร่วมดูแล และส่งเสริมการเลี้ยงดูในครอบครัวที่เน้นการฝึกเด็กให้รู้จักการพึ่งพาตัวเอง มีความซื่อสัตย์ มีวินัย มีความรับผิดชอบ ส่งเสริมผู้สูงอายุที่มีศักยภาพ พัฒนาตนเองสู่แรงงานภาคบริการ เพื่อพัฒนาศักยภาพแรงงานในพื้นที่ ขยายโอกาสการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพให้แก่เด็กทุกช่วงวัย การดูแลนักเรียนยากจน โดยคณะทำงานในวาระที่ 6 นี้ มีรองผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส(ด้านสังคม) เป็นประธานคณะทำงาน ประกอบด้วยคณะทำงานขับเคลื่อนฯ ได้แก่ ท้องถิ่นจังหวัดนราธิวาส, พัฒนาการจังหวัดนราธิวาส, ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดนราธิวาส, ประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดนราธิวาส, วัฒนธรรมจังหวัดนราธิวาส, ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัด, เหล่ากาชาดจังหวัดนราธิวาส, นายอำเภอทุกอำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่ง โดยมี พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนราธิวาส และคลังจังหวัดนราธิวาส เป็นเลขานุการ ซึ่งได้เน้นการดำเนินงานใน ๒ เรื่อง คือ

          (๑) การใช้กลไกประชารัฐมาเป็นกรอบในการทำงาน : เน้นการใช้กลไก “ประชารัฐ” ในการร่วมกันดูแล และช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส ผู้สูงอายุ คนยากจน เยียวยาและฟื้นฟูผู้ได้รับผลกระทบจากความไม่สงบ ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและพึ่งตนเองได้ และสร้างสังคมคุณธรรมและสังคมแห่งการเกื้อกูลเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน โดยหน่วยงานรับผิดชอบหลักคือ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนราธิวาส

          (๒) การสนับสนุนทุนการศึกษาแก่นักเรียนยากจนแต่เรียนดี และเด็กอัจฉริยะในยุค ไทยแลนด์ ๔.๐ : จังหวัดนราธิวาสได้ร่วมกับมูลนิธิพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาคมนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัย และองค์กรภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ เอกชน สมาคม มูลนิธิ และประชาชนทั่วไป จัดตั้งกองทุนการศึกษา ๑๐๐ ปี สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า เพื่อชาวนราธิวาส ขึ้น เพื่อเทิดพระเกียรติและเผยแพร่พระเกียรติคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการส่งเสริมการศึกษาของประชาชน และเพื่อส่งเสริมการศึกษาของเยาวชนนราธิวาส ที่เรียนดี มีความรู้ความสามารถ มีความประพฤติดี แต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ได้มีโอกาสศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา หรือระดับที่สูงขึ้น โดยจังหวัดได้มอบทุนการศึกษามาเป็นระยะ ๆ และในโอกาสต่อไป

          ทั้งนี้ ผมมีความคาดหวังว่าจะสามารถสร้างโอกาสแก่ผู้ด้อยโอกาสไม่ว่าจะเป็น ผู้สูงอายุ คนยากจน ต่างๆ ตลอดจนพัฒนาโอกาสในการศึกษาของเยาวชนในจังหวัดนราธิวาส ให้ได้รับการศึกษาที่ทั่วถึง และมีคุณภาพ โดยพิจารณาจากอัตราการเรียนต่อระดับมัธยมศึกษาและอุดมศึกษาที่เพิ่มมากขึ้น และจำนวนนักเรียนด้อยโอกาสทางการศึกษาลดลง

          วาระที่ ๗ นรา…รักสามัคคี (สามัคคี คือ พลัง) : จังหวัดนราธิวาสได้เสริมสร้างความปรองดองสมานฉันท์ และความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ,ปลูกฝังค่านิยม ๑๒ ประการ ,สร้างความรักความสามัคคีของ คนนราธิวาส โดยน้อมนำแนวทางพระราชทาน “รู้ รัก สามัคคี” มาสนับสนุนการแก้ไขปัญหาด้วยสันติวิธี ในการส่งเสริมการจัดกิจกรรม “ศาสนิกสัมพันธ์” โดยการจัดเวทีพบปะ พูดคุย เยี่ยมเยียนประชาชน ผู้นำศาสนา และข้าราชการมาโดยตลอด ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีและเกิดความสามัคคีของประชาชนชาวนราธิวาสทุกกลุ่มทุกระดับ การสร้างสุขด้วยกีฬา และนันทนาการ อาทิ การออกกำลังกาย การเล่นกีฬาพื้นฐาน กีฬามวลชน และกีฬาพื้นบ้าน ส่งเสริมการจัดการแข่งขันกีฬาในระดับประเทศและนานาชาติ และพัฒนาการกีฬาเพื่อความเป็นเลิศทุกมิติอย่างเป็นระบบ โดยคณะทำงาน           ในวาระที่ 7 นี้ มีรองผู้ว่าราชการจังหวัดนราธิวาส(ด้านสังคม) เป็นประธานคณะทำงาน ประกอบด้วยคณะทำงานขับเคลื่อนฯ ได้แก่ ท้องถิ่นจังหวัดนราธิวาส, พัฒนาการจังหวัดนราธิวาส, ประชาสัมพันธ์จังหวัดนราธิวาส, พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนราธิวาส, ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดนราธิวาส,ศึกษาธิการจังหวัดนราธิวาส, ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดนราธิวาส, คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดนราธิวาส, เหล่ากาชาดจังหวัดนราธิวาส, พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนราธิวาส,นายอำเภอทุกอำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่ง โดยมี วัฒนธรรมจังหวัดนราธิวาส, หัวหน้าสำนักงานจังหวัดนราธิวาส และปลัดจังหวัดนราธิวาส เป็นเลขานุการ ซึ่งมุ่งเน้นการดำเนินงาน ใน ๓ เรื่อง คือ

          (๑) ส่งเสริมการเทิดทูนและแสดงความจงรักภักดีต่อสถาบัน : จังหวัดจะส่งเสริมการจัดกิจกรรมท